Weakness

Weakness ใจดีหรือแบ่งรับแบ่งรับสู้มากไปจุดพีคของการโดยเอาเปรียบ

ใจดี” กับ “หัวอ่อน” เป็นสองคำที่หลาย ๆ คนมักนำมาถกถามกับตัวเองอยู่บ่อยครั้งว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้น นิยามได้ว่าเป็นคนใจดีหรือหัวอ่อนกันแน่ ถึงคุณจะทำงานแบบ ฟรีแลนซ์ หรือพนักงานออฟฟิสก็มักหนีไม่พ้น แม้ความหมายและการแสดงออกถึงพฤติกรรมของทั้งสองคำนั้นจะใกล้เคียงกัน ทว่าการตีความกลับตรงกันข้ามกันแบบขาวกับดำ เอาง่าย ๆ คือ คุณคงอยากเป็นคนใจดีในที่ทำงาน มากกว่าเป็นคนหัวอ่อน เพราะหากเป็นอย่างหลัง โดยมากมักตามมาด้วยการถูกเอาเปรียบ

นใจว่าร้อยทั้งร้อยคงไม่มีใครอยากถูกเอาเปรียบได้ที่ทำงาน อย่าให้ความเป็นคนใจดีของคุณ (ที่มากไป) กลายเป็นจุดอ่อน จนทำให้เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ นำสิ่งนั้นมาเอาเปรียบเราได้ พยายามรักษา Balance ของความใจดีอย่างสมดุล อย่าเป็นผู้ให้มากเกินไปจนคนอื่นมองว่าคุณเป็นคนหัวอ่อน สังเกตดูว่า หากคุณรู้สึกไม่คอมฟอร์ตและเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวเมื่อไร ลองพิจารณาถึง 5 สัญญาณดังกล่าวที่ JobsDB รวบรวมมาให้แล้ว ดังต่อไปนี้

5 สัญญาณแสดงถึงการเป็นคนหัวอ่อน

ขึ้นชื่อว่าโลกของการทำงาน ปัญหาหลาย ๆ อย่างแก้ไขได้จากที่ตัวคุณเอง การคาดหวังให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เช่นเดียวกันกับการที่คุณถูกเอาเปรียบเพราะเป็นคนหัวอ่อน ปัญหาส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมของตัวเราเองด้วย ที่เป็นฝ่ายยอมเสมอมา ที่กล่าวไปนั้น ไม่ได้จะโทษว่าเป็นความผิดของใคร เพียงแต่จะสื่อว่าอะไรที่พอจะปรับได้ด้วยตัวเอง ลองดูก็ไม่เสียหาย เพราะท้ายที่สุดแล้วคุณเองคือฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน

1.ปฏิเสธใครไม่เป็น

สัญญาณแรกเริ่ม ประหนึ่งเปิดประตูต้อนรับความเป็นคนหัวอ่อน คือการที่คุณไม่รู้จักปฏิเสธใครนี่แหละ

 

เข้าใจว่าการบอกปัดใครสักคนเป็นเรื่องชวนหนักใจ กลัวทีมจะมองเราไม่ดี เป็นคนไม่มีน้ำใจ แต่ถ้าปริมาณงานที่คุณถืออยู่นั้น ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว นั่นก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่สมเหตุสมผลให้คุณนำมาชี้แจงและอธิบายกับทีมได้ สิ่งที่คุณต้องปักธงในใจให้ชัดคือ อย่ามองว่าการปฏิเสธคือสิ่งไม่ดี สิ่งที่ต้องทำให้ดี คือรับผิดชอบงานในหน้าที่หลักของคุณอย่างเต็มความสามารถ เพราะนั่นคือสิ่งชี้วัดผลงานได้ดีที่สุด

 

เว้นว่าว่างจากงานหลัก จะไปช่วยคนอื่นในทีมก็เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ก็ต้องทำในฐานะคนช่วยเท่านั้น เพราะถ้าหากคุณจริงจังมากเกินไป เดี๋ยวจะถูกโยนงานมาให้แบบไม่รู้ตัว ช่วยเหลือได้แต่อย่าให้ตัวเองเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม ลองปฏิเสธดูบ้างก็ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย ใครจะมองเราอย่างไร ให้มองว่าเป็นปัญหาของบุคคลนั้น อย่าลืมว่าเราไม่สามารถบังคับความคิดใครได้อยู่แล้ว ตัวเราเองคือคนที่รู้ดีที่สุด

2.ไม่กล้าตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัย

การตั้งคำถามเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงของทุกอย่าง หากคุณใช้ชีวิตหรือทำงานโดยไม่ตั้งคำถามกับอะไรเลย คงจะเป็นสิ่งที่แปลกมาก ดังนั้น จงใช้ชีวิตด้วยความเชื่อที่ว่าสงสัยหรือไม่รู้อะไรก็แค่ตั้งคำถาม อย่ากลัวที่จะเป็นคนไม่รู้ หนึ่งในการเติบโตทางความคิดที่สำคัญ คือการกล้ายอมรับว่าเราไม่รู้ เพราะถ้าเราตั้งต้นจากตรงนี้แล้ว คุณจะกลายเป็นคนไม่อายที่ตั้งคำถาม พร้อมเติมเต็มกับข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ

 

เพราะไม่มีใครรู้ทุกเรื่องบนโลก อย่าใช้ชีวิตด้วยความซับซ้อน ไม่รู้ก็แค่ถาม ไม่ใช่เรื่องต้องกังวล เผลอ ๆ ช่วยให้การทำงานของคุณราบรื่นขึ้นด้วยซ้ำ จะขอคำปรึกษาจากหัวหน้า หรือคนในทีมก็ได้ ให้คนที่มีประสบการณ์แนะนำ แล้วค่อย ๆ เรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้

3.คนหัวอ่อนไม่กล้าโต้เถียงในสิ่งที่เห็นต่าง

การตั้งคำถามเป็นเรื่องปกติฉันใด การมีความคิดเห็นที่แตกต่างก็เป็นเรื่องปกติฉันนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่ถูกเลี้ยงดูมาร้อยพ่อพันแม่ จะคิดเห็นไม่เหมือนกันไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมายแต่อย่างใด

 

ทุก ๆ การประชุมหรือการขอความคิดเห็นกันของคนในทีม หากคุณมีความเชื่อหรือจุดยืนที่ต่างออกไป ย่อมมีสิทธิ์ที่จะเสนอหรือบอกเล่าถึงสิ่งเหล่านั้นได้ อย่ามองว่าหากโต้แย้งไปจะถูกมองว่าก้าวร้าวหรือดูไม่ดี หากคุณมีมุมมองหรือเหตุผลสนับสนุนที่สมเหตุสมผล สามารถชี้แจงถึงรายละเอียดได้ อย่าลืมว่าสาเหตุของการประชุม ก็เพื่อรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย และร่วมหาข้อสรุปร่วมกันนั่นเอง

4.ใช้คำว่า “ขอโทษ” พร่ำเพรื่อเกินไป

หลายครั้งคนที่หัวอ่อนมักพูดคำว่า “ขอโทษ” จนติดปาก ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ใช่ฝ่ายผิด เข้าใจว่าการพูดขอโทษอยู่บ่อยครั้ง เกิดขึ้นมาเพราะต้องการจบปัญหาโดยไม่สนว่าใครเป็นฝ่ายผิดถูก ด้วยความที่ไม่อยากให้ช่วงเวลาแห่ง “ความตึง” ทำลายมู้ดการทำงานโดยรวมของทีม

 

การอ่อนข้อในสันติวิธีนั้น บางครั้งก็ทำให้ยุติปัญหาได้โดยไว แต่บางครั้งคือการสะสมปัญหาไปในตัว เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ถูกแก้อย่างถูกวิธี เสมือนการฝังกลบไว ๆ เพื่อจบปัญหาไป ทว่าความรู้สึกของคนที่ไม่ผิด แล้วต้องเป็นฝ่ายขอโทษ ในระยะยาวอาจเป็นระเบิดเวลาได้ง่าย ทางที่ดีเมื่อเกิดปัญหาขึ้นทุกครั้ง ควรชี้แจงถึงสาเหตุและระหว่างทางให้ชัดเจน แล้ววิเคราะห์ถึงสิ่งที่นำไปสู่ปัญหา จากนั้นให้คนที่มีหน้าที่เป็นคนตัดสิน หากคุณผิดจริงขอโทษตอนนั้นก็ถือว่าไม่สายจนเกินไป

5.ไม่มั่นใจในความคิดเห็นตัวเอง

เชื่อว่าส่วนหนึ่งของคนหัวอ่อนที่ไม่กล้าแสดงความเห็น ยอมนั่งเงียบ ๆ ตลอดการประชุม ไม่โต้แย้ง ทำงานตามคำสั่งทั้งหมด พยักหน้ากับทุกสิ่งตามบรีฟที่ได้รับมา ล้วนมาจากจุดตั้งต้นที่ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง กลัวว่าพูดอะไรไปจะดูไม่ดี กลัวคนอื่นจะมองว่าความคิดเห็นเรามันเห่ย

 

อย่างที่บอกไปในข้อ 2 การที่คนอื่นจะมองว่าเราเป็นอย่างไร นั่นคือความคิดเห็นของเขา สิ่งเหล่านั้นไม่มีทางเปลี่ยนความจริงหรือตัวตนของคุณได้ อย่ากลัวที่จะแสดงความคิดเห็น จงมั่นใจในความเป็นตัวคุณ ถามในสิ่งที่ควรถาม โตแย้งในสิ่งที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง จงเชื่อมั่นและมั่นใจในความคิดของตัวเอง อย่ากลัวที่จะแตกต่าง ความหลากหลายคือสิ่งปกติบนโลกนี้ที่ทุกคนต้องเข้าใจและยอมรับ